ที่มาของช่างnotebook ไทย

เส้นทางของช่างซ่อมโน๊ตบุ๊

โดย fixitnotebook อ.สุนทร แย้มงาม

 แบบไหนทีเหมาะในการซ่อมคอมพิวเตอร์ 

 

1.มาจากสายอิเล็กทรอนิกส์ ปวช.ปวส

2.เรียนวิศวคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ ระดับป.ตรี

3.สาขางานอื่นปวช,ปวส,ป.ตรี เช่น ไฟฟ้า ช่างยนต์ ช่างกลโยธฯลฯ

4.ลูกน้องในร้านซ่อมคอมพิวเตอร์       วุฒิทั่วไป

5.เรียนหลักสูตรระยะสั้น คอมพิวเตอร์  วุฒิทั่วไป

6.สายพานิชย์ บัญชี

 

 

1.มาจากสายสาขางานอิเล็กทรอนิกส์  หมายความว่า มาจากระบบการเรียนการสอน เริ่มจากระดับ อาชีวะ ปวช.-ปวส. นักเรียนเล่านี้มีพื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนการสอนในชั้นเรียนบ่มเพราะให้เป็นช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้แต่ทางทฤษฏี ก็เรียกได้ว่านำมารวมกับทางด้านปฏิบัติ เป็นสาขาที่ลงตัวที่สุด ดีที่สุดสำหรับทำงานด้านสายอาชีพ คอมพิวเตอร์ โนีตบุ๊ค พริ้นเตอร์ จอคอม ฯลฯ

           การซ่อมคอมพิวเตอร์ จะมี2ส่วน   1.ฮาร์ดแวร์   2.ซอฟต์แวร์

1.ฮาร์ดแวร์

           นั่นหมายถึงว่าในการซ่อมคอมพิวเตอร์มีฮาร์ดแวร์ เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมมากที่สุดเกือบจะ90%  เพราะเวลาเครื่องเสีย ช่างต้องรู้เรื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถึงจะซ่อมแผงวงจรได้อ่านวงจรได้ วิเคราะห์วงจรได้ ในการใช้เครื่องมือช่าง เช่นหัวแร้งบัตกรี มิเตอร์ สโคป เด็กช่างอิเล็กทรอนิกส์ จะถนัดดี      

           การเรียนการสอนในห้องเรียน ระดับ ปวช.-ปวส. การศึกษาแผนกอิเล็กทรอนิกส์ เขาได้สอนคอมพิวเตอร์พื้นฐาน แม้แต่การเขียนโปรแกรมก็ได้เรียนกันแล้ว   หรือแม้แต่ทางด้านซอฟแวร์ ก็ได้ฝึกทักษะการติดตั้งโปรแกรม windows อาการเสียต่างๆในระดับหนึ่ง  นี่เป็นชัยชนะของการเรียนการสอนของระดับอาชีวะไทย 

           เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด หรือจะเป็น ทีวี วิทยุ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค พริ้นเตอร์ จอคอมlcd-led ฯลฯ หรืออะไรก็แล้วแต่หากมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้องอยู่ในเครื่องเล่านั้น นั่นหมายความว่าจึงจำเป็นต้องมีผู้รู้เรื่องอิเล็กทรอนิกส์จึงจะซ่อมได้ เครื่องใช้เล่านั้นจะปลอดภัย เวลาใช้งาน

บริษัท, ห้าง,ร้าน ที่ทำกิจการขาย-ซ่อมคอมพิวเตอร์   เวลาประกาศรับสมัครงาน

            ท่านจะรับช่างอย่างไรมาร่วมงาน    เวลาประกาศรับสมัครช่างมาร่วมงาน ก็คงหนีไม่พ้น ผู้ที่มีความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์มาร่วมงาน  นั่นหมายความว่า ถ้าท่านรับช่างมาถ้าเป็นช่างอิเล็กทรอนิกส์  เหตุผลมีดังหนี้ครับ

            ถ้ารับมาเพื่อที่จะต่อยอด ฝึกฝน หมายความว่าจะเป็นงานเร็ว เข้าใจเร็ว เพราะเคยเรียนอิเล็กทรอนิกส์มา เพราะอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆเป็นอิเล็กทรอนิกส์ คนที่จะถ่ายถอดความรู้ให้คือ ช่างใหญ่ในร้าน จะชอบเพราะเด็กเรียนสายอิเล็กฯจะเข้าใจง่าย เพราะมีพื้นฐานการใช้เครื่องไม้เครื่องมือมาก่อนแล้ว   น้องๆเล่านั้น จะเป็นมากหรือน้อยแต่ก็ยังดีที่เคยเรียนในชั้นเรียนมาก่อน

จุดเด่น ที่ได้เปรียบ

ถาม..มีคำถามทำไมต้องซ่อมแผงวงจร mainboard โน๊ตบุ๊ค,pc แบบลึกๆ ทำไมไม่เปลี่ยนใหม่เลย จะซ่อมทำไม ?

ตอบ..การซ่อมเป็นวิธีที่ดีที่สุด เวลาเครื่องเสีย ที่แผงเมนต์บร์อด เราจะทิ้งหรืออย่างไร ตัวอย่าง แค่ตัวอิเล็กโตรไล cบวม ก็จะทิ้ง   หรือ หรืออะหลั่ยบางตัว เช่น IC ,ซ๊อตท์ จะทิ้งหรือครับ เวลาซ่อมแล้ว    เราอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจ แค่นี้ท่านก้ได้ใจ ลูกค้แล้ว ค่าแรงก็คงถูกกว่าการเปลี่ยนแผงวงจรของใหม่

ถาม..ร้านของผมถ้าแผงเมนต์บร์อด  pc เสีย ผมเปลี่ยนให้ลูกค้าใหม่ หรือเอาของมือสองเปลี่ยนให้ลูกค้าเลยครับ

ตอบ..ถ้าร้านท่านซ่อมไม่เป็น ลูกค้าเข้าร้านท่านทุกครั้ง ร้านท่านบอกว่า เปลียน เมนต์บร์อดใหม่ หรือบร์อดมือสอง เลยดีกว่า มัน   ทำให้ลูกค้าสิ้นเปลืองเงินทุกครั้งเลยที่เข้าร้านคุณ  บางครั้งคุณเปลี่ยนแผงเมนต์บอร์ดมือสองอาจจะเป็นของซ่อมก็เป็นไปได้

สรุป        สมมุติ ที่จังหวัดหนึ่ง  มีร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ มีอยู่เพียง 5 ร้าน  มีร้านซ่อมอยู่หนึ่งร้าน ซ่อมแผงวงจรได้หรือซ่อมแบบ   เจาะลึก อีกสี่ร้านซ่อมแบบว่าลูกค้าเข้ามาต้องเปลี่ยนแผงวงจรอย่างเดียว หมายถึงว่าไม่ต้องซ่อมแบบลึก   เปลี่ยนเลยดีกว่าแผงเมต์บร์อด PC ของใหม่1800-2500บ.(ยังไม่บวกค่าแรง)     อีกร้านที่ซ่อมได้แบบลึกบอกว่าซ่อมไม่เกิน 500 บ. ลูกค้าซึ่งเป็นชาวบ้านในชุมชน เขาคงจะเลือกแบบไหนครับ

             ในร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ ที่เห็นทั่วๆไปหรือตามห้าง  บางร้านเปิดร้านไม่มีความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์เลย  อาศัยเปิดร้าน ลงwindows หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆเท่าที่ทำได้ หรือส่งต่อไปให้อีกร้านทำ เวลามีปัญหา ก็โป๊ยกัน ท่านจะเสียเวลา   อาศัยเปิดเพื่อต่อยอดหาประสบการณ์ (ก็ยังดีที่หาประสบการณ์ แต่อย่าลืมเรียนอิเล็กฯ )  ก็หมายความว่าการเป็นช่างยังไม่พร้อม เพราะขาดความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์  ถ้าท่านมีความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ท่านซ่อมได้ เพื่อนๆช่างของท่านเองก็จะได้รู้ว่าท่านได้มาตรฐานในวิชาชีพ   เพราะเพื่อนช่างจะรู้เองว่าท่านเปิดร้านเพื่อ ลงwindowsอย่างเดียว    หรือว่าท่านอยากจะให้เพื่อนช่างเรียกท่านว่าเป็นช่างมาตรฐานในวิชาชีพหรือไม่

2.ซอฟต์แวร์

             ซอฟต์แวร์ ในที่นี่ผมหมายถึง windows xp ,7, 8 และโปรแกรมเสริมต่างๆ เช่นoffice,ดูหนังฟังเพลง ฯลฯที่ช่างเอาลงโปรแกรมให้ลูกค้า ในชั้นเรียนอาชีวะ หรือมหาลัย มีการสอนคอมพิวเตอร์พื้นฐานอยู่แล้ว  เพราะฉนั้นการลงวินโดว์ นั้นบางคนก็ทำได้ บางคนก็ไม่ได้ทำต่อเนื่อง แต่อาจจะ พิมพ์งานเก่งใช้โปรแกรมofficeเก่ง  หรือเก่งทางด้านกราฟิกดีไชต์ หรือเก่งโปรแกรมอื่นๆ

             ถามว่าเอามาฝึกซ่อมคอมได้ไหม  ตอบว่าได้ครับ แต่อาจจะเก่งเฉพาะติดตั้งโปรแกรม หรือว่าเอามาฝึกแล้วค่อยเรียนอิเล็กทรอนิกส์เสริมเอาทีหลัง   ดีมากครับ ทุกแขนงสาขา สามารถนำมาฝึกฝนได้ หรืออาจจะดีกว่าสาขาอิเล็กฯก็ได้ ถ้าคนๆนั้นฝึกฝนตนเองชอบเรียนรู้ศึกษาอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี จะเก่งเหมือนกับแผนกอิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นได้   

             ในการทำงานของร้านคอม ถ้าเอาสาขาอื่นมาร่วมงาน เจ้าของร้านหรือหัวหน้าช่าง  จะคุ้มหรือไม่คุ้ม เพราะรับมาก็ต้องมานั่งสอนกัน เริ่มต้นสอนกันเหนื่อยครับ    นอกเสียจากว่าให้ทำงานภายในร้านทั่วๆไปด้วย  นานๆทีจะมีคนเรียนสาขาอื่นมาทำแล้วเป็นช่างมาก่อนมาร่วมงานกับร้านซ่อม หรือเคยอยู่ร้านซ่อมมาก่อน ก็เจ้าของร้านก็โชคดีไป

 

 

2.เรียนวิศวคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ ระดับป.ตรี

              ผู้ที่เรียนสาขานี้ บางท่านมาจากระดับ ปวช.ปวส.

              ผู้ที่เรียนสาขานี้ มาจาก ม.6

              ถ้ามาจากระดับมัธยม ม.6จะเสียเปรียบมากเพราะมาจากสายสามัญ 

              การเรียนการสอนในระดับนี้ เขาไม่ได้สอนให้ท่านซ่อมคอมพิวเตอร์ PC NOTEBOOK PRINTER MONITORจอคอมเลยแม้แต่น้อย หรือเขาไม่ได้สอนเกี่ยวกับการใช้เครื่องยกchipใดๆเลย   เขาสอนให้ทำพวกnetwork หรือเจาะเน้นcontorl เขียนโปรแกรม ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ

              ตอนที่เขาเรียนอาชีวะ อาจะมีความรู้ด้านช่างคอมฯติดปลายนวมมาบ้างนิดๆขึ้นอยู่กับท่านมีสิ่งแวดล้อมอย่างไร ข้างบ้านเปิดร้านซ่อมคอมไหม หรือว่าท่านฝึกงานร้านคอมอยู่ตอนนี้ พอเข้ามาศึกษาระดับป.ตรี สายวิศวคอมฯโปรแกรมเมอร์ มาหาหอพักอยู่และเรียน  เรียนตั้ง4-5ปี เช่าหอพักอยุ่  ถามว่าท่านจะเป็นช่างอีกอยุ่หรอ เพราะคนที่เปิดร้านซ่อมทำทุกวันนะครับถึงจะเก่ง ท่านมาเช่าหอพักเรียนหนังสือ  ส่วนมากจะเล่นเกมส์ หรือโปรแกรม แซท แคมฟร๊อก อะไรประมาณนั้น เก่งจังมากๆเลย

              ที่มาชี้แจงก็เพราะ สาขานี้ผมเจอลูกค้าส่วนหนึ่งที่อ้างว่า มีญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนๆหรือคนข้างบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน จบวิศวคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมเมอร์  ผมก็งงมากเขาบอกว่าโปรแกรมเมอร์หรือเรียนจบวิศวคอมพิวเตอร์จะเก่งคอมพิวเตอร์  เช่นลูกค้ารายนี้เขาเอาเครื่องคอมฯมาซ่อมที่ร้านผม  อาการ HDD ฮาร์ดดิสก์เสีย  หมายถึงว่าลงโปรแกรมแล้ว ค้าง ช้า ลงwindowsไม่ผ่าน ทางร้านสรุปให้ลูกค้าว่าHDD ลูกค้าเสีย ทั้งๆที่ทางร้านก่อนสรุปว่าHDD เสีย  ได้เอาHDDของที่ร้านเทสในเครื่องลูกค้าแล้ว    ลูกค้ามารับเครื่องแค่บอกว่าHDDเสีย  ลูกค้าบอกว่า เดียวให้โปรแกรมเมอร์ทำเขาจบวิศวคอมพิวเตอร์  ดูสิก็ว่าไป

               ที่ผมอยากเขียนบทความนี้ก็เพราะอย่างนี้แหละครับ  ลูกค้าเขาอาจจะไม่เข้าใจว่า การซ่อมคอมพิวเตอร์ PC โนีตบุ๊คฯลฯ ผู้ซ่อมจะต้องมีของเทส ไม่ว่าจะเป็นโนีตบุ๊คหรือPC ช่างซ่อม จะต้องมีของเทสในร้าน เช่นจอPANAL HDD CPU RAM POWERจะต้องมีไว้เทสเพื่อสรุปอาการเสีย ให้แน่ใจก่อนสรุปให้ลูกค้า  ร้านซ่อมมีชัยไปแล้ว90% ที่เหลือเป็นไปตามสเต็บขบวนการซ่อมของช่างแต่ละท่าน

               แล้วผู้ที่จบวิศวคอมฯหรือโปรแกรมเมอร์ เขาไม่ได้เปิดร้านซ่อม และไม่ได้ซ่อมทุกวันหรือทำได้แค่แก้เครื่องตนเองเท่านั้น หรืออาจจะซ่อมเป็นแค่อาการเบสิคเบื้องต้นติดตัวไปตลอดชีพ ถามว่าเขาจะเอาของเทสที่ไหน  นี่เพิ่มความยุ่งอยากให้วิศวคอมคนนั้นแน่ๆ  หรือทำแล้วมั่วไปใหญ่

               แล้วคนที่จบวิศวคอมฯโปรแกรมเมอร์ เขามีเครื่องยกchip เปลียนchip vga เขาทำเป็นหรือไม่ หรือถอดเปลียนIC อุปกรณ์ภายในแผงเป็นหรือไม่    ขอบอกตรงๆไปเพิ่มความลำบากให้วิศวคอมฯคนนั่นแน่ๆครับ    ที่ร้านผมซ่อมคอมใกล้ๆมหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  มีเด็กนักศึกษาเขาเอาคอมมาซ่อมตั้งเยอะ ก็เห็นมีแต่เรียนวิศวกันทั้งๆนั้น

 

             

ยังไม่จบ รออ่านครับ 

 

 

Visitors: 99,587